DEAN HOTLINE
0 5596 4818
0 5596 4819
99 Moo 9, Tapho, Muang
Phitsanulok 65000

Bachelor of Economics

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต


จุดเด่น เป็นหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ที่การันตีด้วยการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับอาเซียน (AUN-QA) และมีการปรับปรุงใหม่ในปีการศึกษา 2566 นี้โดยเน้นความเข้าใจทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่สามารถพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ทั้งด้านความสามารถในการวิเคราะห์ การใช้เครื่องมือข้อมูลขนาดใหญ่ เกมส์จำลองทางเศรษฐกิจ เพื่อมั่นใจว่าบัณฑิตจบจากหลักสูตรจะสามารถทำงานได้ทั้งองค์กรรัฐ เอกชน รวมถึงการประกอบธุรกิจของตนเองภายใต้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลยุค VUCA (Volatility-Uncertainty-Complexity-Ambiguity) และตอบโจทย์โมเดลทางเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ส่งผลให้หลักสูตรปรับกระบวนการเรียนรู้ให้กับนิสิตด้วยการพัฒนา Soft Skills และกระบวนการตัดสินใจผ่านกรณีศึกษาและเกมส์จำลองทางเศรษฐกิจ ฝึกฝนความสามารถในการพัฒนาแบบจำลองและการประเมินทางเศรษฐศาสตร์เพื่อสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและธุรกิจ รวมทั้งสนับสนุนให้นิสิตมองเห็นคุณค่าทางสังคมและความเท่าเทียมกัน นิสิตจะได้เรียนรู้สถิติและเศรษฐมิติผ่านฐานข้อมูลจริง รวมถึงเป็นขั้อมูลที่เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ มีการฝึกฝนใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ อาทิ STATA MS-ExCel ขั้นกลาง เพื่อสนับสนุนความสามารถในการวิเคราะห์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์มีทัรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่ ห้องศูนย์เรียนรู้การลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Investment Center) มีโปSแกSม STATA 16 มากถึง 40 Licenses เครื่อง BA2Pเนs กว่า 40 เครื่อง สำหรับให้บริการแก่นิสิต

รายวิชาที่น่าสนใจ
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
ทฤษฎีเกมและกระบวนการตัดสินใจ
เศรษฐศาสตร์สุขภาพ
เศรษฐีศาสตร์การท่องเที่ยว
เศรษฐศาสตร์การขนส่ง
เศรษฐศาสตร์พลังงานสีเขียว
การวิเคราะห์โครงการและผลตอบแทนทางสังคม
การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เศรษฐศาสตร์การบริหารความเสี่ยงด้านการเงิน
พัฒนาศักยภาพส่วนบุคคลเพื่อการปรับตัว
การทำงานเป็นทีมและนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมระหว่างการศึกษา
1. ศึกษาดูงานสถานประกอบการ อาทิ โรงงานประกอบรถยนต์ TOYOTA ศูนย์โลจิสติก L'Oreal โรงงานปรับปรุงข้าว CPF โรงงานฮาร์ดดิสก์ Western Digital เป็นต้น
2. ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุนตลาดหลักทรัพย์ฯพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
3. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาทิ การแข่งขันตอบปัญหาเศรษฐศาสตร้ การแข็งขันเพชรยอดมงกุฎโครงการ New Breed เป็นต้น
4. โครงการทุนแลกเปลี่ยนนิสิต เช่น ทุนแลกเปลี่ยนนิสิต ณ Kanazawa University ประเทศญี่ปุ่น
5. สหกิจศึกษาต่างประเทศ และโครงการแลกเปลี่ยนนิสิต WIL

อาชีพ
1. นักวิเคราะห์นโยบายและแผน เศษฐกร นักวิจัยและพยากรณ์ทางเศรษฐกิจ นักวิชาการงบประมาณ นักวิเคราะห์โครงการลงทุน นักประเมินราคาทรัพย์สิน
2. นักวิเคราะห์ด้านวางแผนการผลิต นักวิเคราะห์ด้านการตลาดและกลยุทธ์ นักวิเคราะห์ด้านธุรกิจ นักวิเคราะห์ด้านลูกค้าสัมพันธ์ นักวิเคราะห์ด้านทรัพยากรมนุษย์
3. นักวิเคราะห์สินเชื้อ นักวิเคราะห์การลงทุน นักวางแผนการลงทุน ผู้ประกอบการและนักธุรกิจเพื่อสังคม

ค่าใช้จ่าย
ภาคการศึกษาละ 15,000 บาท ปีละประมาณ 30,000 บาท (มีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กยศ)