วันที่ 1 ตุลาคม 2546 คณะอนุกรรมการสถาบันประจำมหาวิทยาลัย
(อ.ก.ม.) เห็นชอบให้จัดตั้ง คณะใหม่ คือคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ (ชื่อเดิมของคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร) โดยแยกออกจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เดิม
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและจิตบริการ
จุดเด่นของหลักสูตร
มุ่งผลิตนักวิชาการด้านการท่องเที่ยวที่ถึงพร้อมด้วยองค์ความรู้เชิงลึกทั้งในแนวคิดและทฤษฎีทางการท่องเที่ยว แนวคิดจิตบริการ โดยบูรณาการกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการนำระเบียบวิจัยสังคมศาสตร์ขั้นสูงมาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างนวัตกรรมการวิจัยที่สร้างความสามารถทางการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย และตอบสนองต่อพลวัตการท่องเที่ยวโลก
Educational Philosophy
"Doctor of Philosophy in Tourism and Hospitality Management creates visionary leaders with innovative knowledge and integrated competency that progressively changes society in which tourism and hospitality are acknowledged as the most significant human being's self- fulfillment platform."
รายวิชาที่น่าสนใจ
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง
ปรัชญาและทฤษฏีการท่องเที่ยวและจิตบริการขั้นสูง
มิติทัศน์ผู้นำด้านการท่องเที่ยวและจิตบริการ
จิตบริการศึกษาเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและจิตบริการ
ดิจิทัลวิวัตน์ในอุตสาหกรรมไมซ์ระดับโลก
กลุ่มเป้าหมาย
1. เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยด้านการจัดการการท่องเที่ยวและจิตรบริการ
2. เหมาะกับผู้บริหารองค์กรเอกชนระดับกลางถึงสูง เพื่อพัฒนาองค์กรการท่องเที่ยวและจิตบริการ
รูปแบบการจัดการศึกษา
1. แบบ 1.1 การเน้นการทำวิจัย
- รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต จำนวน 6 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ จำนวน 48 หน่วยกิต
2. แบบ 2.1 เน้นการเรียนรายวิชาและการทำวิจัย
- รายวิชาบังคับ จำนวน 6 หน่วยกิต
- รายวิชาเลือก จำนวน 6 หน่วยกิต
- รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต จำนวน 6 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ จำนวน 36 หน่วยกิต
คุณสมบัติเฉพาะหลักสูตร
แบบ 1.1
1) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากสถาบันอุดมศึกษาในหรือต่างประเทศที่
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรองทุกสาขาวิชา (และควรมี
ประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 1 ปี)
2) นักศึกษาไทยหรือนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถ ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทย หรือ
ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ตามเกณฑ์การสอบผ่านภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษาของ
มหาวิทยาลัยนเรศวร
3) คุณสมบัติไม่ขัดต่อข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
พ.ศ. 2559 ข้อ 6 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา และประกาศของมหาวิทยาลัยนเรศวร
4) มีประสบการณ์การทำวิจัยเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยว
แบบ 2.1
1) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากสถาบันอุดมศึกษาในหรือต่างประเทศที่
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรองทุกสาขาวิชา
2) นักศึกษาไทยหรือนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถ ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทย หรือ
ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ตามเกณฑ์การสอบผ่านภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษาของ
มหาวิทยาลัยนเรศวร
3) คุณสมบัติไม่ขัดต่อข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.
2559 ข้อ 6 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา และประกาศของมหาวิทยาลัยนเรศวร
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
แบบ 1.1 และ 2.1 500,000 บาท (แบ่งชำระเป็นภาคการศึกษา)
ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่ายตลอดหลักสูตร | ชั้นปีที่ 1 | ชั้นปีที่ 2 | ชั้นปีที่ 3 | การลงทะเบียนภาคเรียนฤดูร้อน และ หรือไม่สำเร็จการศึกษาและมีรายวิชาที่ต้องลงทะเบียน/ภาคเรียนละ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาคเรียนต้น | ภาคเรียนปลาย | ภาคเรียนต้น | ภาคเรียนปลาย | ภาคเรียนต้น | ภาคเรียนปลาย | ||
แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 | |||||||
500,000 | 85,000 | 85,000 | 85,000 | 85,000 | 80,000 | 80,000 | 9,300 |